[Article & News] Bangkok - Gyeongju World Culture EXPO 2010
'มหกรรมวัฒนธรรมโลก กรุงเทพฯ-เคียงจู 2010'
วันอังคาร ที่ 20 เมษายน 2553 / CR. - ทีมวาไรตี้@Dailynews Online
Repost : http://soenduk.blogspot.com/
สะพานวัฒนธรรมเมืองเก่า
อาณาจักรซิลลา หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างจากภาพยนตร์เกาหลีที่กำลังฉายอยู่ในเวลานี้ สมัยก่อนเกาหลีประกอบด้วย 3 อาณาจักร (สามก๊กเกาหลี) คือ 1.โคกูร ยอ 2.แพกเจ และ 3.ซิลลา ซึ่งในปี พ.ศ. 1200 อาณาจักรซิลลา ได้รวบสามแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และด้วยความที่พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาทำให้ในยุคนี้ถูกขนานนามว่า “ยุคทองของพระพุทธศาสนา” แต่พระพุทธศาสนาในเกาหลีเริ่มเสื่อมลงเมื่อเข้าสู่ยุคโชซอน และยุคที่เกาหลีเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น
ด้วยความที่อาณาจักรซิลลา มีวัฒนธรรมยาวนาน กว่าพันปี จึงเกิดความร่วมมือจัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมโลก กรุงเทพฯ- เคียงจู 2553” (Bangkok-Gyeongju World Expo 2010) ขึ้นใน ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-19 ธันวาคม 2553 ณ สนามเสือป่า กรุงเทพฯ ซึ่งเมืองเคียงจู อยู่ในประเทศเกาหลีใต้ อดีตคือ ที่ตั้งของอาณาจักรซิลลา อันรุ่งเรือง
คิม ควาน ยง นายกเทศมนตรี จังหวัดเกียงซังบุค-โด กล่าวถึงการจัดงานในปลายปีนี้ว่า เสมือนโอลิม ปิกวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีที่มีวัฒนธรรมของชาติสืบเนื่องมายาวนาน และมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นเห็นได้จากยุคที่เกิดสงครามเกาหลี ประเทศไทยได้ส่งทหารมาช่วยเหลือในฐานะมิตรประเทศ
เมืองเคียงจู เป็นเมืองที่เก่าแก่เทียบได้กับอยุธยาของประเทศไทย โดยการจัดงานในปลายปีนี้จะทำให้ประชาชนของสองประเทศเข้าใจวัฒน ธรรมของกันและกันมากขึ้น และยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการศึกษา และ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลในอนาคต ขณะเดียวกันอยากเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทยเข้ามาร่วมงานในครั้งนี้ เพราะทางรัฐบาลเกาหลีใต้ได้เตรียมการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจไว้ให้ชาวไทยได้ชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และหลังจากเสร็จการจัดงานในไทยทางเมืองเคียงจู จะมีความร่วมมือทางวัฒนธรรมกับเมืองต่าง ๆ ในแถบยุโรปต่อไป
เบก ซัง ซึง ผู้ว่าการเมืองเคียงจู กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมโลก” ของเมืองเคียงจู ผ่านมาแล้วกว่า 57 ประเทศทั่วโลก โดยเมืองที่ได้ไป แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต้องมีหลักเกณฑ์ว่า เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมมายาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในหลายประเทศ โดยการจัดงานที่กรุงเทพฯ ปลายปีนี้ หวังว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะทางรัฐบาล เกาหลีใต้สนับสนุนเงินในการจัดงานอย่างเต็มที่ แต่ตอนนี้เป็นห่วงอย่างเดียวคือ สถาน การณ์การเมืองในไทย
“งานครั้งนี้นอกจากจะนำศิลปะเก่าแก่ของเมืองเคียงจูมาแสดงแล้ว ยังมีการแสดงเค-ป๊อป ซึ่งวัยรุ่นไทยหลาย ๆ คนคงประทับใจในการจัดงานในครั้งนี้”
ส่วน จอง คัง จอง ประธานโครงการ Gyeongju World Culture Expo กล่าวย้ำถึงการจัดงานปลายปีว่า ไฮไลต์ของงานจะเป็นชุดการแสดงทางวัฒนธรรมที่ดีที่สุดจาก 3 คณะ ซึ่งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในเกาหลีใต้ รับรองว่า คนไทยต้องประทับใจเพราะไม่บ่อยนักที่คนต่างชาติจะได้รับชมการแสดงของคณะดังกล่าว
ขณะเดียวกันยังมีการนำแบบจำลองวัตถุโบราณ ในสมัยซิลลา มาจัดแสดงให้ประชาชนชาวไทยได้รับชม และยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมของชาวไทยประกอบงานด้วย ผลที่ตามมาคาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้มาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยที่สนใจประวัติศาสตร์กว่า พันปีก็สามารถไปเที่ยวที่เมืองเคียงจูได้ โดย หลังจบงานครั้งนี้ทางเมืองจะมีการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการจัดงาน “มหกรรมวัฒนธรรมโลก กรุงเทพฯ-เคียงจู 2553” หนึ่งในกิจกรรมโหมโรงคือ การสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านพระพุทธศาสนา (Korea Thai Buddhist Cultual Forum in 2010) เมื่อ ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยดงกุก ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสอนศาสนาพุทธที่เก่าแก่ของเกาหลีใต้ ในเมืองเคียงจู โดยพระศรีธวัชเมธี (ชนะ) ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนานาชาติ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการ ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่าถึงการแลกเปลี่ยนสัมมนาในครั้งนี้ว่า แม้พระภิกษุไทยที่มาร่วมสัมมนาจะเป็นนิกายเถรวาท ซึ่งพระภิกษุเกาหลีส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายาน แต่พระพุทธศาสนาของสองประเทศมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้พูดถึงการผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมกับแนวคิดใหม่ ๆ
การมาดูงานที่มหาวิทยาลัยดงกุกครั้งนี้สามารถนำมาปรับใช้ในด้านการเรียนการสอนของพระสงฆ์ในไทยให้เป็นระบบมากขึ้น อนาคตคาดว่า จะมีการแลกเปลี่ยนนักบวชเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างกันมากขึ้นด้วย
ขณะเดียวกันงานนี้ถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งรัฐบาลเกาหลีค่อนข้างตื่นตัวกับการทำงานอย่างมาก ขณะที่ภาครัฐของไทยยังไม่มีการส่งเสริมอย่างชัดเจน เท่าใดนัก ถ้ามีการส่งเสริมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นประเทศไทยจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้หลักศาสนาเพื่อให้ชาวต่างชาติเรียนรู้ได้ เพราะตอนนี้มีนักท่องเที่ยวหลายคนมาเที่ยวเพื่อเรียนรู้พระพุทธศาสนาในไทยเพิ่มมากขึ้น
ภีรนัย โชติกันตะ ผู้อำนวยการกลุ่มทวิภาคี สำนักงานความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตอนนี้หน่วยงานของไทยได้ เตรียมตัวเกี่ยวกับงานปลายปีนี้ โดยมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมศิลปากร รับผิดชอบการแสดงของไทยเพื่อแลกเปลี่ยนกับทางเกาหลี ตลอดจนมีการแสดงนิทรรศ การร่วมกันของสองประเทศ และมีการเปิดร้านอาหารไทยให้ชาวต่างชาติได้ลิ้มลอง
ขณะเดียวกันประชาชน สองประเทศได้เรียนรู้วัฒน ธรรมระหว่างกันมากขึ้น เพราะไทยกับเกาหลีด้วยความที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันทำให้วัฒนธรรมหลายอย่างใกล้เคียงและสามารถแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งงานนี้ก่อนการจัดงานมีการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยนของสองประเทศไปใช้ชีวิตกับครอบครัวในเกาหลี 10 คน โดยในช่วงจัดงานเด็กเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการให้การตอบรับและแนะนำวัฒนธรรมของสองประเทศ
“สำหรับสิ่งที่เป็นปัญหาในตอนนี้นี้คือ เรื่องงบประมาณของฝ่ายไทยที่ยังไม่มีความชัดเจนจากคณะรัฐมนตรีเนื่องจากสถานการณ์การเมือง ส่วนฝ่ายเกาหลีงบประมาณได้เตรียมพร้อมที่จะมาลงทุนงานนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงจัดงานมีการจองทัวร์จากเกาหลีมากเป็นพิเศษเพื่อมาชมงานนี้และเดินทางไปเที่ยวต่อในจังหวัดอื่น ๆ”
สำหรับความร่วมมือในอนาคตกับเมืองเคียงจูเกาหลีที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ อาจจับมือด้านการท่องเที่ยวกับอยุธยาของไทยได้ ที่จะเป็นอีกแนวทางในการผนึกกำลังส่งเสริมศักยภาพระหว่างกัน ขณะเดียวกันงานนี้ยังมีนักธุรกิจจากเกาหลีที่เตรียมมาลงทุนในไทย โดยเมื่องานนี้จบลงอาจมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมจากเกาหลีมาไทยเพิ่มมากขึ้น
มหกรรม กรุงเทพฯ- เคียงจู ปลายปีนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของสองประเทศ ที่อนาคตจะก้าวไปสู่ความร่วมมือต่าง ๆ ต่อไป.
Bangkok - Gyeongju World Culture Expo 2010
Thailand and South Korea agreed to join a 50-day world culture expo in Bangkok to promote bilateral friendship and cooperation and publicize the historic cultures of the two nations.
"Bangkok - Gyeongju World Culture Expo 2010” will be held from November to December 2010 at Sanam Luang, National Museum, National Theater, Thammasat University Main Auditorium, and Silpakorn University Arts Center.
The reason for choosing Bangkok is that it is the hub for international communication in Southeast Asia. The objective is to promote and exchange international arts and culture of both countries and to value society and the economy. Moreover, it is to promote good understanding and relations between Thailand and South Korea at the bilateral and regional level.
The activities of the event aim at supporting the good image of cultural tourism in both countries such as original arts and dance, international art festivals, cultural exhibitions, concerts, film festivals, film animation, tourism public relations programs, and handicraft sales and exhibition.
The Gyeongju Historic Area, registered as a UNESCO World Cultural Heritage on November 2000, is an area that embodies the time-honored history and culture of Gyeongju, the ancient capital of the Silla Kingdom (新羅, 57-935)
The Gyeongju Historic Area can be divided into 5 major sections. The first section is the Namsan Area, a treasure trove of Buddhist art masterpieces dating back to the Silla Kingdom. Gyeongju Namsan Mt. (often referred to as an ‘outdoor museum’) is home to many historical heritage sites from the Silla Dynasty. Major attractions include: Poseokjeong (Historic Site No.1), Tapgok Maaejosanggun (Treasure No. 201), Cheollyongsaji Three-story Stone Pagoda (Treasure No. 1188), Chilbulam Maae Stone Buddha (Treasure No. 200), Bulgok Seated Stone Buddha (Treasure No. 198), and 37 other Buddhist relics
The second section is the Wolseong Area, one of the former palace sites of the Silla Kingdom. The area consists of Gyerim (Historic Site No. 19); Imhaejeonji (Historic Site No. 18), a Silla Royal Palace site; and Cheomseongdae (National Treasure No. 31), the oldest observatory in the East. Daereungwon area, the third area, features a cluster of the royal graves of the Kings and Queens of Silla. Also in the same area are Gobungun (a cluster of old graves) in Nodong-ri (Historic Site No. 38), Gobungun (a cluster of old graves) in Noseo-ri (Historic Site No. 39) Gobungun (a cluster of old graves) in Hwangnam-ri (Historic Site No. 40), and Oreung (Historic Site No. 172), among others. Archaeologists have discovered a number of invaluable relics and historic items in this area such as Geumgwan (golden crown), Cheonmado (a painting of flying horses), and numerous pottery pieces. These finds are perhaps the greatest clues into the life of the people of the Silla Dynasty.
Area number four, the Hwangnyongsa Area, is where the former site of the Hwangnyongsa Temple (Historic Site No. 246) and Bunhwangsa Stone Pagoda are located. Lastly, is the Sanseong Area, housing remnants of the major defense system for the capital city. The site consists of Myeonghwalsanseong Fortress (Historic Site No. 47) which is estimated to be around 400 years old.
The Gyeongju Historic Area has a total of 52 designated cultural assets that are registered as World Cultural Heritages.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น